วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เครื่องบินฝนหลวง

เครื่องบินปีกตรึงที่ใช้งานในปัจจุบัน



ภาพเครื่องบินแบบ Porter PC-๖/BH๒ (๑ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๓ เครื่อง ใช้สำหรับปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น น้ำหนักบรรทุกสารฝนหลวง ๕๐๐ - ๕๕๐ กิโลกรัม




ภาพเครื่องบินแบบ Cessna Caravan (๑ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๑๐ เครื่อง ใช้สำหรับปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น น้ำหนักบรรทุกสารฝนหลวง ๗๐๐ - ๘๐๐ กิโลกรัม




ภาพเครื่องบินแบบ Casa C-๒๑๒ (๒ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๑๓ เครื่อง ใช้สำหรับปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น น้ำหนักบรรทุกสารฝนหลวง ๑,๐๐๐ - ๑,๒๐๐ กิโลกรัม




ภาพเครื่องบินแบบ CN-๒๓๕-๒๒๐ (๒ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๒ เครื่อง ใช้สำหรับปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น และใช้สำหรับการบินสนับสนุนการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง น้ำหนักบรรทุก สารฝนหลวง ๒,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ กิโลกรัม




ภาพเครื่องบินแบบ Super King Air ๓๕๐B (๒ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๓ เครื่อง ใช้สำหรับปฏิบัติการฝนหลวงเมฆเย็น โดยติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ตรวจวัดสารประกอบทางอุตุนิยมวิทยา ใช้ในการทำฝนเมฆเย็น และสนับสนุนการตรวจราชการของบังคับบัญชาระดับสูง


เครื่องบินปีกหมุนที่ใช้งานในปัจจุบัน



ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์แบบ Ecureuil AS๓๕๐B (๑ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๒ เครื่อง ใช้สำหรับบินสนับสนุนราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสนับสนุนการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง และบินสำรวจประเมินผลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง




ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์แบบ BELL ๒๐๖B (๑ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๓ เครื่อง ใช้สำหรับบินสนับสนุนราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสนับสนุนการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง และบินสำรวจประเมินผลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง




ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์แบบ BELL ๔๑๒ EP (๒ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๑ เครื่อง ใช้สำหรับบินสนับสนุนราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสนับสนุนการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง




ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์แบบ BELL ๔๐๗ EP (๑ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๑ เครื่อง ใช้สำหรับบินสนับสนุนราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสนับสนุนการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง และบินสำรวจประเมินผลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น