วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การตรวจวัดทางกายภาพของเมฆ

เครื่องบินวิจัยเมฆฟิสิกส์ Kingair
          เครื่องบินวิจัยเมฆฟิสิกส์ เป็นเครื่องบินกังหันไอพ่นแบบ ๒เครื่องยนต์ มีระบบปรับความดันอากาศภายใน สามารถบินในระดับความสูง ๓๕,๐๐๐ ฟุต สำหรับใช้ในภารกิจปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง เครื่องบินนี้ติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการตรวจวัด และบันทึกข้อมูลสารประกอบอุตุนิยมวิทยาและข้อมูลไมโครฟิสิกส์ต่างๆ ตรวจวัดข้อมูลอุตุนิยมวิทยาพื้นฐาน ประกอบด้วยอุณหภูมิ ความชื้นปริมาณน้ำในเมฆ กระแสลมไหลขึ้นลงภายในเมฆและตรวจวัดขนาดและปริมาณความหนาแน่นของเม็ดน้ำภายในเมฆ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนากรรมวิธีฝนหลวงบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และยังติดตั้งอุปกรณ์ยิงพลุสารเคมี  ซิลเวอร์ไอโอไดด์ที่ใช้ในการทำฝนเมฆเย็น

๑.     King Liquid Water Content [เครื่องมือตรวจวัดปริมาณน้ำในก้อนเมฆ]
๒.     Reverse Flow Total Temperature [เครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิในบรรยากาศ]
๓.     Dew Point Sensor [เครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิจุดน้ำค้างในบรรยากาศ]
๔.     Vertical Speed Indicator [เครื่องมือตรวจวัดกระแสอากาศไหลขึ้นหรือลงในทางตั้ง]
๕.     Cloud Droplet Spectrometor Probe (FSSP)[เครื่องมือตรวจวัดขนาดและปริมาณของเม็ดน้ำ(Cloud Droplet) ในก้อนเมฆ ที่มีขนาดตั้งแต่ 2-47 ไมครอน]
๖.     Two Dimensional Cloud Droplet Probe (2DC)[เครื่องมือตรวจวัดขนาดและปริมาณของเม็ดน้ำ(Cloud Droplet) ในก้อนเมฆ ที่มีขนาดตั้งแต่ 25-800 ไมครอน]
๗.     Two Dimensional Precipitation Probe (2DP)[เครื่องมือตรวจวัดขนาดและปริมาณของเม็ดน้ำฝน(Rain Drop) ในก้อนเมฆ ที่มีขนาดตั้งแต่ 600-6400 ไมครอน]
๘.     Cloud Condensation Nuclei Counter (CCNC) [เครื่องมือตรวจวัดปริมาณของแกนกลั่นตัว (Cloud Condensation Nuclei)ในบรรยากาศ]

๙.     ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการปฏิบัติงานและบันทึกข้อมูลของเครื่องมือตรวจสารประกอบทางอุตุนิยมวิทยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น