วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สถานีเรดาร์


          ปัจจุบันกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีระบบเรดาร์ตรวจกลุ่มฝนจำนวน ๕ สถานี เพื่อใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวง แบ่งออกเป็นสถานีเรดาร์แบบประจำที่ จำนวน ๔ สถานี และสถานีเรดาร์แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๒ สถานี ได้แก่


๑. สถานีเรดาร์แบบประจำที่ ชนิด S Band ความถี่ ๒.๘ GHz มีจำนวน ๔ สถานี ได้แก่

                   ๑.๑ สถานีเรดาร์ฝนหลวง ต.ยางเปียง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ตรวจวัด การเกิดลูกเห็บเพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง การทำลายลูกเห็บ และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง


      ๑.๒ สถานีเรดาร์ฝนหลวงตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและ สภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคกลาง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง บริเวณภาคกลาง และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

      ๑.๓ สถานีเรดาร์ฝนหลวงสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและ สภาอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง บริเวณภาคตะวันออก และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

      ๑.๔ ศูนย์วิจัยปฏิบัติการฝนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

๒. สถานีเรดาร์แบบเคลื่อนที่ ชนิด C Band ความถี่ ๕.๖ GHz มีจำนวน ๓ สถานี

ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายไปปฏิบัติงานตามสถานที่ต่างๆ ได้ ตามความเหมาะสม ปัจจุบันตั้งฐานปฏิบัติงานอยู่ที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงต่างๆ ดังนี้

            ๒.๑ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและ สภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการ ฝนหลวง

            ๒.๒ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ.จตุรพักรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

            ๒.๓ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคใต้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง


หมายเหตุ
๑) ระบบเรดาร์ ชนิด S Band : ใช้สำหรับการใช้งาน แบบติดตั้งประจำที่ เนื่องจากมีขนาดใหญ่

๒) ระบบเรดาร์ ชนิด C Band : ใช้สำหรับการใช้งาน แบบติดตั้งเคลื่อนที่ หรือ แบบประจำที่ก็ได้ เนื่องจาก มีขนาดเล็กกว่า ระบบเรดาร์ ชนิด S Band







































ภาพแสดงสถานที่ตั้งสถานีเรดาร์ตรวจกลุ่มฝนในแต่ละพื้นที่ภายในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น