วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กรรมวิธีฝนหลวง

ปัจจุบันมีกรรมวิธีที่ใช้เครื่องบินในการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนใน๓ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ขั้นที่ ๑ ก่อกวน
          เป็นการดัดแปรสภาพอากาศด้วยการก่อกวนสภาวะสมดุลหรือเสถียรภาพของมวลอากาศเป็นแห่งๆโดยการโปรยสารเคมีจำพวกที่เมื่อดูดซับความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ในท้องฟ้าที่ระดับใกล้เคียงกับกับระดับกลั่นตัว เนื่องจากการไหลพาความร้อนความร้อนในแนวตั้งซึ้งเป็นระดับฐานเมฆของแค่ละวัน และจะโปรยสารเคมีจำพวกที่เมื่อดูดซับความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงที่ระดับความสูงกว่าระดับฐานเมฆ๒๐๐๐ – ๓๐๐๐ ฟุต ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกิดเมฆเร็วขึ้นและปริมาณมากกว่าที่เกิดตามธรรมชาติโดยเริ่มก่อกวนในช่วงเวลาเช้าทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมายหวังที่ผลที่วางแผนไว้ในแต่ละวัน



ภาพหมู่เครื่องบินแอร์ทรัคซึ่งเป็นเครื่องบินเล็กน้ำหนักบรรทุกสารเคมี เครื่องละ ๘๕๐ กก. กำลังโปรยสารเคมีสูตรร้อนอย่างฉับพลันรวดเร็ว




ภาพเครื่องบินกาซ่าขนาดกลสงน้ำหนักบรรทุกสารเคมี เครื่องละ ๑๐๐๐ กก. โปรบได้ทั้งสูตรร้อน สูตรเย็น และสูตรดูดซับความชื้น กำลังโปรยสูตรร้อน เป็นแนวยาวด้วยอัตราโปรยสูง


ขั้นที่ ๒ เลี้ยงให้อ้วน
          เป็นการดัดแปรสภาพอากาศและก้อนเมฆด้วยการกระตุ้นหรือจะเร่งการเจริญเติบโตของก้อนเมฆที่ก่อตัวแล้วให้มีขนาดใหญ่ขึ้นทางฐานเมฆและยอดเมฆ ขนาดหยดน้ำจะใหญ่ขึ้นและปริมาณน้ำในก้อนเมฆจะสูงขึ้นและหนานานเร็วกว่าที่จะปล่อยให้เจริญเองตามธรรมชาติ ด้วยการโปรยสารเคมีประเภทที่เมื่อดูดซับความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงที่ระดับฐานหรือทับยอดเมฆ โดยบินโปรยสารเคมีเข้าสู่ก้อนเมฆโดยตรง หรือโปรยรอบๆ และระหว่างช่องว่างของก้อนเมฆทางด้านเหนือลมให้กระแสลมพัดหาสารเคมีเข้าสู่ก้อนเมฆ หรือโปรยสารเคมีสูตรร้อนสลับสูตรเย็นในอัตราส่วน ๑:๔ ทับยอดเมฆทั่วบริเวณที่เกิดสภาพเมฆที่มีความหนา ๒๐๐๐ –๓๐๐๐ ฟุต ปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง หรือที่บริเวณพื้นที่ใต้ลมของบริเวณที่เริ่มต้นก่อกวน ทั้งนี้สุดแล้วแต่สภาพของเครื่องบิน ภูมิประเทศและอากาศขณะนั้นจำอำนวยให้


ภาพเครื่องบินกาซ่าโปรยสารเคมีสูตรเย็นเพื่อทำให้เมฆรวมตัวกันในขั้นเลี้ยงให้อ้วน หากเป็นเครื่องบินเล็กต้องบินเป็นหมู่
         

ขั้นที่ ๓ โจมตี
          เป็นการดัดแปรสภาพอากาศในก้อนเมฆโดยตรงหรือบริเวณใต้ฐานเมฆ หรือบริเวณที่ต้องการชักนำเมฆฝนที่ตกอยู่แล้วเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย เป็นการบังคับหรือเหนี่ยวนำให้เมฆที่แก่ตัวจัดแล้วตกเป็นลงสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลที่วางแผนกำหนดไว้ โดยบินโปรยสารเคมีประเภทที่ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงเข้าไปในเมฆโดยตรงที่ฐานเมฆหรือยอดเมฆ หรือที่ระดับระหว่างฐานเมฆชิดขอบเมฆทางด้านเหนือลม หรือใช้เครื่องบิน๒เครื่อง โปรบพร้อมกับแบบแซนด์วิช เครื่องหนึ่งโปรยที่ฐานเมฆด้านใต้ลม อีกเครื่องโปรยด้านเหนือลมชิดขอบเมฆที่ระดับยอดเมฆหรือไหล่เมฆ เครื่องบินทั้งสองทำมุมเองกัน ๔๕ องศา หรือสารเคมีเย็นจัดเป็นบริเวณแคบในบริเวณพื้นที่เป้าหมายหวังผลเพื่อเหนี่ยวนำให้ฝนที่กำลังตกอยู่เคลื่อนเข้าสู่พื้นที่ตั้งใจนั้น




ภาพการบินโจมตีที่ยอดเมฆด้วยเครื่องบินเครื่องเดียว




ภาพการบินโจมตีที่ไหล่เมฆด้วยเครื่องบินเครื่องเดียว




ภาพการบินโจมตีด้วยเครื่องบินเดียวที่ฐานเมฆของกลุ่มเมฆที่แก่ตัว บังคับให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายฝนตกอย่างรวดเร็วมนขณะหรือหลังโจมตีเพียงเล็กน้อย




ภาพการโจมตีที่ฐานเมฆและยอดเมฆพร้อมดันแบบแซนด์วิช ซึ่งเป็นวิธีการทั้งเลี้ยงให้อ้วนและโจมตีที่ได้ผลกว่าวิธีอื่น ด้วยเครื่องบินสองเครื่อง เครื่องหนึ่งบินทับยอดเมฆ หรือที่ระดับไหล่เมฆด้านเหนือลม อีกเครื่องหนึ่งบินที่ฐานเมฆทางด้านใต้ลมทำมุมเยื้องกัน ๔๕ องศา โดยบินขวางทิศทางลมมุ่งหน้าไปในทางเดียวกัน





ภาพการบินโจมตีโดยเครื่องบินเครื่องเดียวหรือเครื่องบินเล็กเป็นหมู่ที่ได้ผลอีกวิธีหนึ่ง คือ กานบินโปรยสารเคมีเย็นจัดใต้ฐานเมฆในระยะสูงกึ่งกลาง ระหว่างพื้นดินและฐานเมฆ หรือต่ำกว่าฐานเมฆไม่เกิน ๑๐๐๐ ฟุต

การตรวจวัดทางกายภาพของเมฆ

เครื่องบินวิจัยเมฆฟิสิกส์ Kingair
          เครื่องบินวิจัยเมฆฟิสิกส์ เป็นเครื่องบินกังหันไอพ่นแบบ ๒เครื่องยนต์ มีระบบปรับความดันอากาศภายใน สามารถบินในระดับความสูง ๓๕,๐๐๐ ฟุต สำหรับใช้ในภารกิจปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง เครื่องบินนี้ติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการตรวจวัด และบันทึกข้อมูลสารประกอบอุตุนิยมวิทยาและข้อมูลไมโครฟิสิกส์ต่างๆ ตรวจวัดข้อมูลอุตุนิยมวิทยาพื้นฐาน ประกอบด้วยอุณหภูมิ ความชื้นปริมาณน้ำในเมฆ กระแสลมไหลขึ้นลงภายในเมฆและตรวจวัดขนาดและปริมาณความหนาแน่นของเม็ดน้ำภายในเมฆ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนากรรมวิธีฝนหลวงบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และยังติดตั้งอุปกรณ์ยิงพลุสารเคมี  ซิลเวอร์ไอโอไดด์ที่ใช้ในการทำฝนเมฆเย็น

๑.     King Liquid Water Content [เครื่องมือตรวจวัดปริมาณน้ำในก้อนเมฆ]
๒.     Reverse Flow Total Temperature [เครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิในบรรยากาศ]
๓.     Dew Point Sensor [เครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิจุดน้ำค้างในบรรยากาศ]
๔.     Vertical Speed Indicator [เครื่องมือตรวจวัดกระแสอากาศไหลขึ้นหรือลงในทางตั้ง]
๕.     Cloud Droplet Spectrometor Probe (FSSP)[เครื่องมือตรวจวัดขนาดและปริมาณของเม็ดน้ำ(Cloud Droplet) ในก้อนเมฆ ที่มีขนาดตั้งแต่ 2-47 ไมครอน]
๖.     Two Dimensional Cloud Droplet Probe (2DC)[เครื่องมือตรวจวัดขนาดและปริมาณของเม็ดน้ำ(Cloud Droplet) ในก้อนเมฆ ที่มีขนาดตั้งแต่ 25-800 ไมครอน]
๗.     Two Dimensional Precipitation Probe (2DP)[เครื่องมือตรวจวัดขนาดและปริมาณของเม็ดน้ำฝน(Rain Drop) ในก้อนเมฆ ที่มีขนาดตั้งแต่ 600-6400 ไมครอน]
๘.     Cloud Condensation Nuclei Counter (CCNC) [เครื่องมือตรวจวัดปริมาณของแกนกลั่นตัว (Cloud Condensation Nuclei)ในบรรยากาศ]

๙.     ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการปฏิบัติงานและบันทึกข้อมูลของเครื่องมือตรวจสารประกอบทางอุตุนิยมวิทยา

สารเคมีฝนหลวง

ก่อนที่จะถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยยิ่ง จึงมีการวิเคราะห์วิจัยอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบว่าจะมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต มนุษย์ พืชและสัตว์หรือไม่ ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ก่อนที่จะทรงเห็นชอบให้นำไปใช้ในการปฏิบัติการซึ่งได้มีการดำเนินการณ์วิเคราะห์วิจัย โดยสำนักการปฏิบัติการฝนหลวง และหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ กรมอาชีวอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ สภากาชาดไทย กรมอุตุนิยมวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ดังนั้นจึงเป็นที่มั่นใจได้ว่าน้ำฝนในเขตพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการสะอาดเกินมาตรฐานที่จะใช้อุปโภคบริโภคได้ ไม่ก่อให้เกิดสภาพมลภาวะต่อสิ่งมีชีวิตใดๆ นอกจากนั้น ยังทรงโปรดให้ใช้สารเคมีที่ผลิตในประเทศเท่าที่จะทำได้ และราคาไม่แพง ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้สำหรับฝนหลวงทั้งหมด 8 ชนิด ปัจจุบันมีเพียง 2 ชนิดที่ต้องสั่งเข้ามาในประเทศ แต่ในอนาคตอันใกล้จะผลิตได้เองหมดในประเทศ ได้มีการทดลองและนำเข้าสู่การใช้ปฏิบัติการมาตามลำดับ กล่าวคือ

        ปี พ.ศ. 2512-2513 ทดลองใช้วิธีการโปรยก้อนน้ำแข็งแห้ง การพ่นละอองน้ำเข้าสู่ก้อนเมฆและการพ่นสารละลายเกลือแกงเข้มข้นแทนการใช้น้ำเปล่า




ภาพเจ้าหน้าที่กำลังทดลองใช้สารเคมี

พ.ศ. 2513  ทดลองใช้สารเคมีโซเดียมคลอไรด์แบบผง ซึ่งต่อมาเรียกว่าเกลือแป้งฝนหลวง และนำเข้าสู่การใช้ปฏิบัติการในปีต่อมา
        พ.ศ. 2515 เริ่มปฏิบัติการด้วยสารเคมียูเรีย ทั้งแบบผงและแบบสารละลายเข้มข้น และนำเข้าสู่การใช้ปฏิบัติการในปีต่อมา
        พ.ศ. 2516 เริ่มทดลองใช้ผงแคลเซียมคาร์ไบด์ และใช้สารเคมีฝนหลวงในลักษณะสารผสมมากขึ้น และนำเข้าสู่การใช้ปฏิบัติการในปีต่อมา
        พ.ศ. 2517-2519 สารเคมีที่ใช้ในการปฏิบัติการช่วงนี้ ประกอบด้วย น้ำแข็งแห้ง โซเดียมคลอไรด์ ยูเรีย แคลเซียมคาร์ไบด์ และยังคงใช้อยู่จนปัจจุบัน ซึ่งได้รับการพัฒนาทางด้านกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีตามลำดับ
        พ.ศ. 2520 ในการทดลองใช้สารเคมีแอมโมเนียมไนเตรทเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชนิด และนำเข้าสู่การใช้ปฏิบัติการในปีต่อมา
        พ.ศ. 2524-2525 ทดลองใช้สารเคมีแคลเซียมออกไซด์ และนำเข้าสู่การใช้ปฏิบัติการในปีต่อมา
        พ.ศ. 2526 ทดลองใช้สารละลายเข้มข้นสูตร ท.1 ต่อมาได้ทดลองใช้ในลักษณะผงละเอียด และนำเข้าสู่การใช้ปฏิบัติการในปีต่อมา
        พ.ศ. 2527-2530 สรุปแล้วจนถึงปัจจุบันสารเคมีที่ใช้ในช่วงดังกล่าวจึงมีทั้งหมด 8 ชนิด คือ แคลเซียมคลอไรด์ น้ำแข็งแห้ง ยูเรีย โซเดียมคลอไรด์ แคลเซียมออกไซด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แอมโมเนียมไนเตรท และสูตร ท.1 ซึ่งใช้ทั้งในรูปอนุภาคแบบผงและแบบสารละลาย
        
        คุณสมบัติทั่วไปของสารเคมีที่ใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมีที่ดูดซับความชื้นได้ดีและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเล็กน้อย เมื่อสัมผัสกับน้ำในอากาศซึ่งเมื่อหมด ปฏิกิริยาแล้วยังทำหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัวของเม็ดน้ำในอากาศ ผลของการกลั่นตัวนี้จะคายความร้อนแฝง ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางพลศาสตร์และเมฆอีกด้วย

สารเคมีที่ใช้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
       กลุ่มที่ 1
     เป็นสารเคมีที่เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (สูตรร้อน) ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ และแคลเซียมออกไซด์




ภาพที่แสดงถึงการเกิดปฏิกิริยาของสารเคมีที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น

        กลุ่มที่ 2
     เป็นสารเคมีที่เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วทำให้อุณหภูมิต่ำลง (สูตรเย็น) ได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนียมไนเตรท และน้ำแข็งแห้ง




ภาพที่แสดงถึงการเกิดปฏิกิริยาของสารเคมีที่ทำให้อุณหภูมิต่ำลง

        กลุ่มที่ 3
     เป็นสารเคมีที่ดูดซับความชื้น ทำหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัว และทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเพราะปฏิกิริยาเคมีเพียงเล็กน้อย แต่จะทำให้เกิดการคายความร้อนแฝงเนื่องจากขบวนการกลั่นตัวของไอน้ำ กลายเป็นหยดน้ำ สารเคมีกลุ่มนี้ ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ และ ท.1




ภาพที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ


วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สถานีเรดาร์


          ปัจจุบันกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีระบบเรดาร์ตรวจกลุ่มฝนจำนวน ๕ สถานี เพื่อใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวง แบ่งออกเป็นสถานีเรดาร์แบบประจำที่ จำนวน ๔ สถานี และสถานีเรดาร์แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๒ สถานี ได้แก่


๑. สถานีเรดาร์แบบประจำที่ ชนิด S Band ความถี่ ๒.๘ GHz มีจำนวน ๔ สถานี ได้แก่

                   ๑.๑ สถานีเรดาร์ฝนหลวง ต.ยางเปียง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ตรวจวัด การเกิดลูกเห็บเพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง การทำลายลูกเห็บ และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง


      ๑.๒ สถานีเรดาร์ฝนหลวงตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและ สภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคกลาง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง บริเวณภาคกลาง และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

      ๑.๓ สถานีเรดาร์ฝนหลวงสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและ สภาอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง บริเวณภาคตะวันออก และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

      ๑.๔ ศูนย์วิจัยปฏิบัติการฝนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

๒. สถานีเรดาร์แบบเคลื่อนที่ ชนิด C Band ความถี่ ๕.๖ GHz มีจำนวน ๓ สถานี

ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายไปปฏิบัติงานตามสถานที่ต่างๆ ได้ ตามความเหมาะสม ปัจจุบันตั้งฐานปฏิบัติงานอยู่ที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงต่างๆ ดังนี้

            ๒.๑ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและ สภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการ ฝนหลวง

            ๒.๒ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ.จตุรพักรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

            ๒.๓ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ภารกิจ ตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคใต้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง และการเตือนภัยอากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง


หมายเหตุ
๑) ระบบเรดาร์ ชนิด S Band : ใช้สำหรับการใช้งาน แบบติดตั้งประจำที่ เนื่องจากมีขนาดใหญ่

๒) ระบบเรดาร์ ชนิด C Band : ใช้สำหรับการใช้งาน แบบติดตั้งเคลื่อนที่ หรือ แบบประจำที่ก็ได้ เนื่องจาก มีขนาดเล็กกว่า ระบบเรดาร์ ชนิด S Band







































ภาพแสดงสถานที่ตั้งสถานีเรดาร์ตรวจกลุ่มฝนในแต่ละพื้นที่ภายในประเทศไทย

สนามบินฝนหลวง

มีจำนวน ๒ แห่ง ได้แก่
๑. สนามบินจังหวัดนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์




ภาพสนามบินจังหวัดนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

          ๒.สนามบินคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

อุปกรณ์สื่อสาร

          เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างยิงในการรายงานข้อมูลข่าวสารจากหน่อยตรวจวัดสภาพอากาศรายงานผลการตัดตามประเมินผลประจำวันแก่คณะปฏิบัติการเองและหน่วยงานอื่นในภาคสนามระหว่างคณะปฏิบัติการในภาคสนามมายังศูนย์อำนวยการฝนหลวงพิเศษ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงในแต่ละวันอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงเป็นครั้งคราวเมื่อได้รับคำสั่ง



แสดงภาพเครื่องรับส่งวิทยุระบบ  เอฟ.เอ็ม.5 ข่ายของกรมตำรวจที่ให้ความร่วมมือสำหรับใช้ในการรายงานข้อมูลสภาพอากาศ ข้อมูลข่าวสารสนับสนุนจากการตรวจวัดและสังเกตการณ์ระหว่างศูนย์ปฏิบัติการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาคสนาม


ภาพเครื่องรับ-ส่งวิทยุระบบซิงเกิลไซด์แบนด์ข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ให้ความช่วยเหลือในการส่งข่าวสารและสรปรายงานผลการปฏิบัติการ การคิดตามผลประจำวัรระหว่างศูนย์ปฏิบัติการในภาคสนามและสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง




ภาพเครื่องโทรพิมพ์ซึ่งมีทั้งขายองค์การไปรษณีย์โทรเลขแห่งประเทศไทยและข่ายของกระทรวงมหาดไทย ใช้ในการติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกับต่างประเทศและระหว่างศูนย์อำนวยการฝนหลวงพิเศษ กรมอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานที่ใช้ข่ายเดียวกันกับสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงรวมทั้งรายงานผลปฏิบัติการต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประจำทุกวัน




อุปกรณ์ตรวจและติดตามฝน

          ในระยะเริ่มแรก สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงมีเพียงเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา และอาสาสมัครสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงและข้อมูลปริมาณน้ำของอ่างเก็บน้ำ เขื่อนต่างๆ เพื่อติดตามผลปฏิบัติการประจำวันเท่านั้น และยังคงใช้อยู่ แต่ในปัจจุบันนี้สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงมีรถเรดาร์ตรวจวัดกลุ่มฝนเพื่อประกอบการติดตามฝน จำนวน ๒ คัน ซึ่งยังมีความต้องการเพิ่ม เพื่อให้สามารถติดตามและตรวจวัดกลุ่มฝนให้แก่คณะปฏิบัติการฝนหลวงประจำปี ซึ่งเคยจัดตั้งระหว่าง ๓-๗ คณะปฏิบัติการ

ภาพเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนของสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงที่ติดตั้งให้แก่อาสาสมัครในพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการ เพื่อให้รายงานผลปฏิบัติการประจำวันต่อศูนย์อำนวยการฝนหลวงพิเศษและสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงในส่วนกลาง

        กลุ่มฝนเนื่องจากผลปฏิบัติการฝนหลวงประจำวัน นอกจากจะทำให้ทราบว่ามีฝนตกในพื้นที่เป้าหมายเพียงใดแล้ว ยังสามารถติดตามการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝนนั้น รวมทั้งความเข้มหรือความหนาแน่นของกลุ่มฝน ความสูงของยอดเมฆ ความกว้างของฐานเมฆ เนื้อที่ที่ได้รับฝนในพื้นที่เป้าหมายหวังผลและพื้นที่เปรียบเทียบอีกด้วย




ภาพรถเรดาร์ติดตามและตรวจวัดกลุ่มฝน




ภาพเจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติงานภายในรถเรดาร์




ภาพแสดงตัวอย่างกลุ่มฝนเนื่องจากปฏิบัติการประจำวันที่ปรากฏในจอเรดาร์ ซึ่งตรวจพบและบันทึกภาพและข้อมูลไว้ เพื่อรายงานผลทุกชั่วโมงต่อศูนย์อำนวยการปฏิบัติการภาคสนาม สำหรับประกอบการรายงานประจำวัน เสนอต่อศูนย์อำนวยการฝนหลวงพิเศษและสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงและผู้บังคับบัญชาในส่วนกลาง






อุปกรณ์ตรวจอากาศ

          ปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดสภาพอากาศที่ทันสมัยและใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ช่วยให้การวางแผนปฏิบัติการประจำวันและการคาดหวังผลสัมฤทธิ์มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูงขึ้น




ภาพเครื่องตรวจวัดสภาพอากาศชั้นบนในระหว่างปฏิบัติการยังต้องออกแบบประดิษฐ์ขึ้นใช้เองเพื่อวัดความกดอากาศ อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับความสูงต่างๆ




ภาพกล้องธีโอโดไลท์ส่องบอลลูนเพื่อหาทิศทางและความเร็วลมที่ระดับชั้นต่างๆ ของท้องฟ้า




ภาพบอลลูนที่นำเครื่องส่งสัญญาณเรดิโอซอนด์ขึ้นไปด้วย




ภาพเครื่องรับสัญญาณวิทยุจากเครื่องส่งเรดิโอซอนด์ รายงานความกดอากาศ อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ในระดับชั้นความสูงต่างๆของท้องฟ้าและดัชนีอื่นๆที่จำเป็นในการวางแผนปฏิบัติการและคาดหวังผลประจำวัน



เครื่องบินฝนหลวง

เครื่องบินปีกตรึงที่ใช้งานในปัจจุบัน



ภาพเครื่องบินแบบ Porter PC-๖/BH๒ (๑ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๓ เครื่อง ใช้สำหรับปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น น้ำหนักบรรทุกสารฝนหลวง ๕๐๐ - ๕๕๐ กิโลกรัม




ภาพเครื่องบินแบบ Cessna Caravan (๑ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๑๐ เครื่อง ใช้สำหรับปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น น้ำหนักบรรทุกสารฝนหลวง ๗๐๐ - ๘๐๐ กิโลกรัม




ภาพเครื่องบินแบบ Casa C-๒๑๒ (๒ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๑๓ เครื่อง ใช้สำหรับปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น น้ำหนักบรรทุกสารฝนหลวง ๑,๐๐๐ - ๑,๒๐๐ กิโลกรัม




ภาพเครื่องบินแบบ CN-๒๓๕-๒๒๐ (๒ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๒ เครื่อง ใช้สำหรับปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น และใช้สำหรับการบินสนับสนุนการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง น้ำหนักบรรทุก สารฝนหลวง ๒,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ กิโลกรัม




ภาพเครื่องบินแบบ Super King Air ๓๕๐B (๒ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๓ เครื่อง ใช้สำหรับปฏิบัติการฝนหลวงเมฆเย็น โดยติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ตรวจวัดสารประกอบทางอุตุนิยมวิทยา ใช้ในการทำฝนเมฆเย็น และสนับสนุนการตรวจราชการของบังคับบัญชาระดับสูง


เครื่องบินปีกหมุนที่ใช้งานในปัจจุบัน



ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์แบบ Ecureuil AS๓๕๐B (๑ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๒ เครื่อง ใช้สำหรับบินสนับสนุนราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสนับสนุนการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง และบินสำรวจประเมินผลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง




ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์แบบ BELL ๒๐๖B (๑ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๓ เครื่อง ใช้สำหรับบินสนับสนุนราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสนับสนุนการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง และบินสำรวจประเมินผลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง




ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์แบบ BELL ๔๑๒ EP (๒ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๑ เครื่อง ใช้สำหรับบินสนับสนุนราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสนับสนุนการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง




ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์แบบ BELL ๔๐๗ EP (๑ เครื่องยนต์) มีจำนวน ๑ เครื่อง ใช้สำหรับบินสนับสนุนราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสนับสนุนการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง และบินสำรวจประเมินผลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง

อุปกรณ์บรรจุและโปรยสารเคมีสูตรน้ำ



ภาพเครื่องบินเฟลทเชอร์ติดตั้งอุปกรณ์โปรยสารละลายเข้มข้น แบบไมโครแนร์




ภาพเครื่องบินเชสน่าติดตั้งอุปกรณ์โปรยสารละลายเข้มข้น แบบหัวฉีด




ภาพเครื่องบินปอร์ตเตอร์ติดตั้งอุปกรณ์โปรยสารละลายเข้มข้น แบบไมโครแนร์ และติดตั้งแบบหัวฉีดได้ด้วย

เครื่องบรรจุและโปรยสารเคมีแบบผง


          เนื่องจากเครื่องบินที่ได้รับจัดสรรให้ใช้ปฏิบัติการเป็นแบบต่างๆ เท่าที่หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือสนับสนุน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องออกแบบประดิษฐ์เครื่องบรรจุและโทรยสารเคมีแบบผงให้เหมาะสมกับเครื่องบินในแต่ละแบบ


ภาพเครื่องบินเชสน่าติดตั้งกรวยโปรยที่ใช้มาแต่แรกเริ่มโครงการ พ.ศ. ๒๕๑๒ และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน




ภาพม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล กำลังอำนวยการเครื่องบินไอร์แลนเดอร์ แบบ ๒ เครื่องยนต์ ติดตั้งถังบรรจุควบคุมอัตราการโปรยลงสู่กรวยโปรยด้านล่าง ออกแบบประดิษฐ์ใช้ตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ พ.ศ. ๒๕๑๒ และยังคงใช้ได้อยู่ในปัจจุบัน




ภาพเครื่องบินปอร์ตเตอร์ติดตั้งถังและกรวยโปรยโดยมีท่อโปรยแยกออกเป็นรูปตัววี เพื่อป้องกันมิให้สารเคมีทำให้ล้อหางเสียหายเนื่องจากสารเคมีกัดกร่อน ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ จนถึงปัจจุบัน




ภาพเครื่องบินกาซ่าติดตั้งถังบรรจุสารเคมี และอุปกรณ์โปรยแบบแรก เป็นการบรรจุสารเคมีภายนอกเครื่องบินแล้วจึงเข็นขึ้นเครื่องบิน วิธีการบรรทุกแบบนี้สามารถลดปัญหาการกัดกร่อนเนื่องจากสารเคมีหกลงสู่พื้นเครื่องบินได้ แต่มีปัญหาที่ต้องใช้เวลาติดตั้งนาน และอุปกรณ์โปรยขัดข้องระหว่างการปฏิบัติงานบนอากาศยาน




ภาพเครื่องบินกาซ่าติดตั้งเครื่องโปรยแบบล่าสุดเป็นแบบเวนจูรี่ เพื่อให้การกระจายของสารเคมีไม่กระทบและก่อความเสียหายเนื่องจากสารเคมีกัดกร่อนให้กับส่วนท้ายของเครื่องบิน เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ จนถึงปัจจุบัน