เนื่องจากเครื่องบินที่ได้รับจัดสรรให้ใช้ปฏิบัติการเป็นแบบต่างๆ เท่าที่หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือสนับสนุน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องออกแบบประดิษฐ์เครื่องบรรจุและโทรยสารเคมีแบบผงให้เหมาะสมกับเครื่องบินในแต่ละแบบ
ภาพเครื่องบินเชสน่าติดตั้งกรวยโปรยที่ใช้มาแต่แรกเริ่มโครงการ พ.ศ. ๒๕๑๒ และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ภาพม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล กำลังอำนวยการเครื่องบินไอร์แลนเดอร์ แบบ ๒ เครื่องยนต์ ติดตั้งถังบรรจุควบคุมอัตราการโปรยลงสู่กรวยโปรยด้านล่าง ออกแบบประดิษฐ์ใช้ตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ พ.ศ. ๒๕๑๒ และยังคงใช้ได้อยู่ในปัจจุบัน
ภาพเครื่องบินปอร์ตเตอร์ติดตั้งถังและกรวยโปรยโดยมีท่อโปรยแยกออกเป็นรูปตัววี เพื่อป้องกันมิให้สารเคมีทำให้ล้อหางเสียหายเนื่องจากสารเคมีกัดกร่อน ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ จนถึงปัจจุบัน
ภาพเครื่องบินกาซ่าติดตั้งถังบรรจุสารเคมี และอุปกรณ์โปรยแบบแรก เป็นการบรรจุสารเคมีภายนอกเครื่องบินแล้วจึงเข็นขึ้นเครื่องบิน วิธีการบรรทุกแบบนี้สามารถลดปัญหาการกัดกร่อนเนื่องจากสารเคมีหกลงสู่พื้นเครื่องบินได้ แต่มีปัญหาที่ต้องใช้เวลาติดตั้งนาน และอุปกรณ์โปรยขัดข้องระหว่างการปฏิบัติงานบนอากาศยาน
ภาพเครื่องบินกาซ่าติดตั้งเครื่องโปรยแบบล่าสุดเป็นแบบเวนจูรี่ เพื่อให้การกระจายของสารเคมีไม่กระทบและก่อความเสียหายเนื่องจากสารเคมีกัดกร่อนให้กับส่วนท้ายของเครื่องบิน เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ จนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น