วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อุปกรณ์เตรียมสารเคมี



ภาพเจ้าหน้าที่กำลังทุบน้ำแข็งแห้งซึ่งเป็นวิธีการระยะเริ่มแรก

          สารเคมีน้ำแข็งแห้งหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง ผลิตออกมาจำหน่ายในรูปแท่งทรงกระบอกหนักแท่งละประมาณ ๑๗ กก. จึงจำเป็นต้องบดย่อยให้เป็นก้อนเล็กๆ ขนาดไม่เกิน ๑ ลูกบาศก์นิ้ว เพื่อให้ในการโจมตีเมฆก้อนใหญ่ให้ฝนตก หรือบดเป็นเกล็ดเล็กๆ เพื่อผสมกับสารเคมีสูตรอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ในการใช้แต่ละขั้นตอนของกรรมวิธีฝนหลวง เครื่องบดสารเคมีที่ปัจจุบันได้พัฒนาให้มีขนาดและความสามารถสูงยิ่งขึ้น
น้ำแข็งแห้งที่มีอุณหภูมิต่ำมากถึง –๗๘ องศาเซลเซียส หากมีหลงร่วงหล่นลงมาจากเครื่องบินบ้างต้องระมัดระวัง อย่าให้เด็กๆ เอามือเปล่าจับ เพราะจะทำให้ผิวหนังไหม้หรือเซลล์ของผิวหนังเป็นอันตราย จะสังเกตเห็นได้ชัด เพราะมีลักษณะเป็นก้อนขาวและระเหิดเป็นควันสีขาว ไม่ละลายเป็นน้ำเช่นน้ำแข็งธรรมดา
  ในระยะเริ่มแรกโครงการ เกลือแป้งที่มีอนุภาคละเอียดเป็นพิเศษ จึงเรียกผงเกลือแป้ง ซึ่งเป็นสารเคมีที่สำคัญในการทดลองปฏิบัติการ ไม่มีการผลิตจำหน่ายในท้องตลาดจึงต้องผลิตนสนามเอง ผงเกลือแป้งนี้ต้องมีปริมาณความชื้นต่ำมาก กล่าวคือไม่เกินร้อยละ ๑ เป็นสารเคมีที่ดูดความชื้นไวมาก แม้ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์ไม่สูงนัก หากผงเกลือแป้งมีความชื้นสูงจะจับก้อนแข็งเป็นอุปสรรคต่อการโปรยและการอุดตันต่อเครื่องโปรย โดยประดิษฐ์เครื่องอบแห้งเกลือขึ้นเป็น ๒ แบบ เมื่ออบแห้งแล้วจำเป็นต้องบดย่อยให้เป็นผงละเอียดที่มีอนุภาคเล็กมาก เครื่องบดประดิษฐ์ในระยะเริ่มแรกมีขนาดเล็กเพราะปริมาณใช้สารเคมีในการค้นคว้าทดลองยังมีน้อย ปัจจุบันนี้ต้องใช้ปริมาณมาก สามารถจัดหาได้โดยการจัดซื้อจากโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ




ภาพเครื่องบดสารเคมีที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เองในระยะเริ่มแรกและยังคงใช้บดน้ำแข็งแห้งสำหรับปฏิบัติการในภาคสนามจนถึงปัจจุบัน





ภาพเจ้าหน้าที่ที่กำลังบดสารเคมีด้วยเครื่องบดที่ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา และใช้อยู่ในปัจจุบัน




ภาพเครื่องอบแห้งเกลือ แบบหมุน




ภาพเครื่องอบแห้งเกลือแบบไม่หมุน



ภาพเครื่องบดเกลือรุนแรง

          ซึ่งเครื่องบดเกลือยังจำเป็นต้องใช้เครื่องบดสารเคมีในกรณีที่ผงเกลือแป้งจับตัวเป็นก้อนต้องบดซ้ำ โดยพัฒนาเครื่องต้นแบบให้มีขนาดใหญ่และความสามารถสูงขึ้น เพื่อใช้บดสารเคมีชนิดอื่นที่จัดซื้อในลักษณะเป็นเม็ดหรือเกล็ดให้เป็นผง และยังคงใช้สำหรับการบดย่อยสารเคมีในภาคสนามอยู่ตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้

  


ภาพเครื่องผสมสารเคมีสูตรน้ำที่ยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน




 ภาพเครื่องบินแบบที่ใช้บรรจุและติดตั้งระบบโปรยสารละลายแบบเข้มข้น

          สำหรับสารเคมีฝนหลวงนอกจากจะใช้แบบผงละเอียดแล้ว ในระยะเริ่มแรกการทดลองค้นคว้ายังไม่มีการผลิตสารเคมีแบบผง จึงทดลองใช้สารละลายเข้มข้น ซึ่งจะได้สารละลายที่มีอุณหภูมิลดต่ำลง เริ่มต้นทดลองสารละลายเกลือทะเล ซึ่งทำให้อุณหภูมิน้ำลดลง ๒-๓ องศาเซลเซียส และแอมโมเนียมไนเตรท ทำให้อุณหภูมิน้ำลดต่ำลงไม่ต่ำกว่า ๑๐ องศาเซลเซียส ทำให้อุณหภูมิของสารละลายดังกล่าวต่ำกว่าอุณหภูมิกลั่นตัวของมวลอากาศหรือเมฆที่ระดับชั้นต่างๆ
  สารละลายเข้มข้นนี้บรรจุในถังเป็นละอองละเอียดด้วยเครื่องพ่นหรือโปรยที่ปรับขนาดเม็ดละอองได้ ติดตั้งบนเครื่องบินปราบศัตรูพืช แต่โอกาสที่จะใช้เครื่องบินแบบนี้มีน้อยเพราะเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีศัตรูพืชระบาดละอองสารละลายเข้มข้น เมื่อพ่นสู่มวลอากาศจะระเหยกลายเป็นอนุภาคสารเคมีแห้ง ทำหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัวของเมฆ น้ำที่ระเหยออกจะทำให้มวลอากาศบริเวณนั้นมีความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้น แต่ถ้าโปรยตรงเข้าสู่ก้อนเมฆ ทั้งในเมฆหรือที่ฐานเมฆจะช่วยเร่งกระบวนการกลั่นตัวในเมฆให้เมฆเจริญหรือเกิดฝนตกเร็วและปริมาณฝนเพิ่มขึ้น จึงเหมาะใช้ในการเลี้ยงให้อ้วนและโจมตี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น